Artificial Intelligence

แพลตฟอร์มยกระดับฐานความรู้ทางวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีกราฟความรู้ การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรสุวรรณภูมิ ชุมทางการค้าทางทะเล ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11

Development of KGeN: Knowledge Graph Enhanced Navanurak Platform
แพลตฟอร์มที่อ่านข้อความเชิงพรรณนาภาษาไทยที่จัดเก็บอยู่ในโครงสร้างข้อมูลของคลังข้อมูลวัฒนธรรมนวนุรักษ์และวิเคราะห์ในเชิงการประมวลผลภาษาธรรมชาติเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกันในรูปแบบฐานความรู้เชิงความหมาย
โดยแพลตฟอร์มนี้ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วิเคราะห์ภาษาธรรมชาติภาษาไทยโดยเฉพาะ ได้แก่
  • ขั้นตอนการตัดแบ่งคำและประโยคภาษาไทย (Thai Word/Sentence segmentation)
  • ขั้นตอนการรู้จำนิพจน์ระบุนามภาษาไทย (Thai Named Entity Recognition – NER)
  • ขั้นตอนการสร้างต้นไม้ทางวากยสัมพันธ์ (Syntactic parser) เพื่อเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภายในข้อความ
ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติ จะถูกนำมาใช้เพื่อสกัดหาความเชื่อมโยงตามหลักการ semantic network ได้แก่ กราฟความรู้ (knowledge graph) และฐานความรู้เชิงความหมาย (semantic-based knowledge representation)
ทั้งนี้ผลลัพธ์ของแพลตฟอร์มสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับสร้างสารานุกรมออนไลน์ในรูปแบบวิกิพีเดีย (Wikipedia) ที่มีความสัมพันธ์ในระดับเพจ (Page relation) และข้อมูลสรุปแบบมีโครงสร้างในลักษณะกล่องข้อมูล (Infobox) อนึ่งข้อมูลภายในสารานุกรมออนไลน์ดังกล่าวสามารถนำออกมาในรูปแบบ ฐานข้อมูลสาธารณะดีบีพีเดีย (DBpedia) เพื่อใช้เป็นฐานความรู้ให้กับ   แอปพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่างๆ ได้ เช่น ระบบถามตอบ ที่จะนำข้อเท็จจริง (Facts) ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลกราฟความรู้     ที่เชื่อมโยงกันในเชิงความหมายมาใช้ในการตอบคำถาม และ ระบบแนะนำ (Recommendation system) สำหรับการท่องเที่ยวที่จะ นำรายละเอียดที่จัดเก็บไว้ในกราฟความรู้มาร่วมพิจารณาในการแนะนำได้อย่างชาญฉลาดและตรงกับความต้องการของผู้ใช้

ระบบจำแนกข้อความทางประวัติศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์: กรณีศึกษา ดินแดนสุวรรณภูมิ

Development of Artificial Intelligence based Historical Text Classification System: Case Study on Suvarnabhumi Territory (AI-HisTex)
ระบบวิเคราะห์ข้อความประวัติศาสตร์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ จะรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์จากสื่อสังคมออนไลน์และนำมา
สร้างสร้างแบบจำลองในการจำแนกประเภทข้อความเป็นข้อเท็จจริง (Fact) ความคิดเห็น (Opinion) ความเชื่อ (Belief) และอคติ (Prejudice) โดยใช้หลักการทางประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ทำให้ทราบว่าข้อความที่ต้องการตรวจสอบประกอบไปด้วยข้อความประเภทใดบ้าง มีปริมาณมากน้อยเพียงใด โดย
ผลลัพธ์ของรระบบประกอบด้วยการให้บริการแบบ API (Application Programming Interface) และแอพพลิเคชันตัวอย่าง เช่น เว็บแอพพลิเคชัน หรือ SaaS โดยสามารถรองรับการให้บริการทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชนและนักวิชาการสามารถใช้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาต่อไป

แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนองและชุมพร

Development of AI Platform for Historical Tourism: A Case Study of Ranong-Chumphon Trans-Peninsular Routes
แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนองและชุมพร ใช้วิธีการทางวิทยาการข้อมูล (Data Science) รวบรวมข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาสร้างเป็นฐานข้อมูลในรูปกราฟความรู้ และพัฒนาแชตบอทขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวใช้สืบค้นข้อมูล โดยมีการใช้กระบวนการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) ในการทำการรู้
จำชื่อเฉพาะ (Named Entity Recognition) และจำแนกความตั้งใจ (Intent Classification) เพื่อวิเคราะห์คำถามของนักท่องเที่ยวและดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากกราฟความรู้มาให้นักท่องเที่ยว
นอกจากนั้น แพลตฟอร์มนี้นำข้อมูลจากโครงการที่ 1 และ 2 รวมทั้งจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือต่าง ๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลสอน (Training Data) สำหรับสอนแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning Model) และสร้างแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Generative AI ขึ้นมาเพื่อตอบคำถามของนักท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เกมออนไลน์สนับสนุนการท่องเที่ยวสำหรับชุมชนประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ

Development of An online game to support tourism for the Suvarnabhumi territory
ต้นแบบเกมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชนประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ เป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวย้อนรอยแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ของชุมชนสุวรรณภูมิ ผนวกกับโบราณสถานและโบราณวัตถุ นำมาสร้างเป็นเกมออนไลน์ที่มีภารกิจตามกฎกติกาและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเกม โดยมุ่งหวังเพื่อให้เกิดความรู้และสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้ศึกษาและผู้เล่นเกม ต้นแบบเกมออนไลน์ดังกล่าวได้ใช้เครื่องมือโปรแกรมประยุกต์ในการพัฒนาอันได้แก่
  1. Unity 3D สำหรับพัฒนาเกม
  2. Maya สำหรับสร้างโมเดล 3 มิติ
  3. Illustrator สำหรับสร้างรูปและกราฟิก 2 มิติ เป็นต้น สุดท้ายจะนำเกมไปประเมินประสิทธิภาพทั้งด้านความพึงพอใจและประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่น