โครงการนำร่องจังหวัดระนอง ชุมพร เพื่อพัฒนาเส้นทางสายวัฒนธรรม
ภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ จากร่วมรากสู่ร่วมสมัย
the pilot project of Ranong and Chumphon province to develop
the Suvarnabhumi cultural route, from common heritage to contemporary
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางประวัติศาสตร์บนคาบสมุทรทางทะเลในดินแดนสุวรรณภูมิ จากหลักฐานที่มีการบันทึกดั้งเดิม หนังสือหรือตำรา งานวิชาการที่มีการเผยแพร่แล้ว
- เพื่อลงพื้นที่จริงและสำรวจสถานที่ทั้งโบราณสถาน โบราณคดี และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำไปสร้างฐานข้อมูลสุวรรณภูมิ นวัตกรรมจักรวาลนฤมิตรสุวรรณภูมิ องค์ความรู้ความสัมพันธ์และวิเคราะห์ข้อความอัตโนมัติด้านปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางกายภาพ
เทคนิค/เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ
เป็นโครงการศึกษา สำรวจ เพื่อเก็บข้อมูลเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรภาคใต้ในจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี ที่เชื่อมโยงมิติเวลาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ชุมทางการค้าตามเมืองท่าที่เคยถูกเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางการค้าทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคโบราณ หรือที่เคยถูกเรียกจากบรรดาพ่อค้า นักแสวงโชค และนักเดินเรือต่างชาติว่าดินแดน “สุวรรณภูมิ สุวรรณทวีป ” (Chryse Chora, Chryse Chersonesus)
โดยโครงการชุดนี้เน้นการวิเคราะห์ในเชิงกายภาพของพื้นที่ เส้นทางการเดินทางข้ามคาบสมุทรเพื่อติดต่อค้าขาย และขนถ่ายสินค้าจากทะลอันดามันสู่อ่าวไทยรวมทั้ง แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ของผู้คน สังคมและวิถีชีวิต เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามหลักฐานที่ผ่านการศึกษา และสำรวจ แล้วนำไปจัดเก็บลงแพลตฟอร์ม นวนุรักษ์ที่ได้รับการขยายความสามารถจากแพลตฟอร์มเดิม