เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 67 ทีมนักวิจัย โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร ได้ร่วมกิจกรรมงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567” (Thailand Inventors’ Day 2024) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 25 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ณ อีเวนต์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
งาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567 (Thailand Inventors' Day 2024)
การนำเสนอผลงานวิจัยต่อรัฐมนตรี ในกิจกรรม ครม.สัญจร จังหวัดระนอง
วันที่ 22 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยต่อรัฐมนตรีในจังหวัดระนอง
ในครั้งนี้ทีมงานวิจัยได้แบ่งทีมงานเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะนำเสนอและต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ.ที่ทำการกลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น นักวิจัยอีกกลุ่มจะนำเสนองานวิจัยในวัดหงาว ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
งานทุกอย่างสำเร็จไปด้วยดี ต้องขอขอบคุณนักวิจัยทุกท่านที่ร่วมกันสร้างผลงานขึ้นมา ผู้นำเสนอและชุมชนต่าง ๆ ที่สนับสนุนพวกเราจนประสบความสำเร็จ
กิจกรรม ลงพื้นที่ติดป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
ทีมวิจัยในโครงการ AI-MHT ลงพื้นที่ติดตั้งป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ของจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT)
จังหวัดชุมพร ได้แก่ พระบรมธาตุสวี ศาลกรมหลวงชุมพร ร้านกาแฟถ้ำสิงห์ ณ เขามัทรี หาดอรุโณทัย ร้านอยุ่แต่สวนคาเฟ่
จังหวัดระนอง ได้แก่ วัดหงาว ร้านขายของฝากวัชรี โรรงแรมฟาร์มเฮาส์และร้านขายของฝาก ก.ไก่ บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ร้านอาหารคุ้นลิ้น พระราชวังรัตนรังสรรค์ ร้านอาหารเคียงเล เขาฝาชี ณพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์สงครามโลก ครั้งที่ 2
แนะนำการใช้แพลตฟอร์มแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการท่องเที่ยว
เป็นแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวในเส้นทางสุวรรณภูมิโดยอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาโดยโครงการการพัฒนาแพลตปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สู่จักวาลนฤมิตร (AI-MHT) และได้เรียนรู้จากสถานที่จริง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่เริ่มต้นเดินทางที่ไม่มีข้อมูลแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์จะเป็นตัวช่วยในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ และสามารถช่วยทำให้วางแผนในการท่องเที่ยวได้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางหลัก หรือเส้นทางรองในแต่ละเส้นทางจะมีเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของชุมชน และธรรมชาติที่สวยงาม
วช. ร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์ จัดกิจกรรมการทดสอบแพลตฟอร์ม AI
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (สปปท.) จัดกิจกรรมการทดสอบแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์บนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT) เพื่อประเมินผลการใช้งานแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ เกมออนไลน์ และทดสอบต้นแบบเส้นทางการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่เส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนอง และ จังหวัดชุมพร โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงแนวทางสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการท่องเที่ยว พร้อมด้วย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวชี้แจงกิจกรรมและกล่าวต้อนรับ และมี นายธนกร บริสุทธิญาณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง นายสมโชค วงศ์วิวัฒนา ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ว่าที่ร้อยตรี กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนระนอง นายสุนทร เตชิน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านในวงเหนือ และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ บ้านในวง ตำบลบ้านในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
402186898_297159189885933_5314394408204917199_n
402159890_297158486552670_801403578504989205_n
402155698_297158529885999_4455897974362505496_n
402139986_297159109885941_5463930314756006507_n
402119081_297158473219338_8126997940609970947_n
400069707_297159279885924_7560288337380384_n
400067144_297159139885938_3329124153238687892_n
399568943_294985100103342_2994004186421987080_n
399580301_294984966770022_2529225185472451631_n
399583145_294984913436694_5797433586421745484_n
399708726_294984976770021_5051083597923218211_n
399884376_294985163436669_7525150459314716998_n
400043237_294984886770030_5940926025445999690_n
399971840_294984770103375_6146001062529790606_n
ลงพื้นที่ประสานงานร่วมกับชุมชน
ทีมนักวิจัยในโครงการ AI-MHT ลงพื้นที่ประสานงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ของจังหวัดระนอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT)
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30-16.00 น. ณ วัดพระบรมธาตุสวี จังหวัดชุมพร และในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ วิทยาลัยชุมชนระนอง จังหวัดระนอง
กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร สมาคมประชาสังคมชุมพร/กลุ่มสุวรรณภูมิศึกษา ชุมพร-ระนอง รองประธานคณะทำงานสุวรรณภูมิศึกษา จังหวัดชุมพร ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลสวี และภาคชุมชน และได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนระนอง กำนันจากชุมชนบ้านหงาว ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และตัวแทนผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว
395791193_663734469281322_1857893281426318507_n
395940051_663734959281273_6801588805852385323_n
395864097_663734539281315_4170498762473839962_n
395787722_663734629281306_4452158735467190624_n
395802785_663734675947968_7298917212964561311_n
395804794_663734662614636_3490993066837120262_n
396483725_663734419281327_7519410061353497462_n
395805630_663734852614617_2383461082140564703_n
395772664_663734949281274_9039947215188742747_n
395826159_663734895947946_3475477725399325060_n
395819580_663732052614897_8185476288299237128_n
395809841_663734915947944_4427340244303087830_n
395806009_663732039281565_135334280719434935_n
งานครบรอบ 64 ปี วช.
ทีมนักวิจัย AI-MHT ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นงนุช เกตุ้ย หัวหน้าโครงการ และ ดร.ณสิทธิ์ เหล่าเส็น ผู้ร่วมวิจัย เข้าร่วมเสวนา หัวข้อ AI ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เนื่องในดอกาสสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 64 ปี สร้างองค์ความรู้เชิดชูเกียรตินักวิจัย พัฒนาประเทศไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม
aimht-fb-27
aimht-fb-18
aimht-fb-13
aimht-fb-17
IMG_1038
IMG_2550
IMG_2577
IMG_2870
IMG_1835
IMG_1919
IMG_2674
IMG_2618
IMG_6289
IMG_6845
IMG_3225
30270
การทดสอบ แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการท่องเที่ยว
โครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT)” จัดเวทีแนะนำโครงการและนักวิจัย ทดสอบแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับการท่องเที่ยว แก่หน่วยงานราชการและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเอกชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ในวันที่ 19 กรกฏาคม ที่ผ่านมา
โดยนักวิจัยมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยรังสิต, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
กิจกรรมนำเสนองาน วช.
ทีมนักวิจัย AI-MHT ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นงนุช เกตุ้ย หัวหน้าโครงการ และ ดร.ณสิทธิ์ เหล่าเส็น ผู้ร่วมวิจัย เข้าร่วมในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เมื่อวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานการ ของโครงการวิจัยที่ วช. ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
“วัดบ้านหงาว”
วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นวัดสำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในระนองอีกแห่งหนึ่ง สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ยุคสุวรรณภูมิในแง่ของการถลุงโลหะในอดีตเพราะมีแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก แต่มารุ่งเรืองในยุคที่มีการทำเหมืองแร่ดีบุกเพราะที่นี้มีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ทำให้มีคนจากหลากหลายพื้นที่และชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากบ้านหงาวมีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมากและมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจจนกระทั่งเกิดเป็นบ้านเมืองขึ้นมา ชาวบ้านจึงได้ใช้ดีบุกหล่อสร้างพระประธานทั้งองค์ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก ความสูง 4 เมตร หน้าตักกว้าง 9 ฟุต มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “พระติปุกะพุทธมหาศากยมุนีศรีรณังค์” แต่คนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อดีบุก” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2551 สร้างด้วยแร่ดีบุก น้ำหนักถึง 3 ตัน อยู่ในอุโบสถสองชั้นชื่อว่า “อุโบสถลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ” วัดบ้านหวาวเป็นวัดที่มีทัศนียภาพที่งดงาม เมื่อเรามองไปทางหน้าวัดจะเห็นน้ำตกหงาวได้อย่างชัดเจน ซึ่งน้ำตกนี้เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก ไหลลงท่ามกลางหน้าผาสูง มีละอองหมอกเกือบตลอดวัน ส่วนด้านหลังจะเป็นภูเขาสูงชื่อว่า “ภูหงาวดาวดึงส์” มีทางขึ้นเป็นบันไดคอนกรีต 343 ขั้น เมื่อเดินไปถึงยอดเนินจะสามารถมองทิวทัศน์ได้รอบ 360 องศา สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยว “วัดบ้านหงาว” ก็คือ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ฉลองครองราชย์ 60 ปี” ซึ่งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเก็บรวบรวมตัวอย่าง แร่ดีบุก และเครื่องมือเครื่องใช้ ในการทำเหมืองแร่ ทั้งเหมืองสูบและเหมืองเรือขุดแร่ รวมไปถึงวัตถุโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันไว้อย่างน่าสนใจ
งานรัตนรังสรรค์รำลึก ประจำปี 2566 ครบรอบ 161 ปี วันสถาปนาเมืองระนอง
ตัวแทนทีมวิจัยโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร ( AI-MHT ) ได้มาร่วมงานรัตนรังสรรค์รำลึก ประจำปี 2566 ครบรอบ 161 ปี วันสถาปนาเมืองระนอง ณ พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก เมืองระนองเมืองเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เมี่อปีพ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองระนองและเมืองตระ (กระบุรี) เป็นเมืองขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร จะรักษาราชการทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดให้ยกเมืองระนองและเมืองตระ (กระบุรี) เป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี ตำแหน่งเจ้าเมืองระนอง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดระนองคนแรก ต่อมา ในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองระนอง และประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ อันเป็นจุดเริ่มต้น ของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับพระราชวังรัตนรังสรรค์ เนินเขานิเวศน์คีรี และถนนพระราชทานนามสิบสาย ในเขตเทศบาลเมืองระนอง รวมทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสและประทับแรมถึง 4 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ ย้อนวันวาน ณ ระนองเมืองแห่งความจงรักภักดี การแสดงรัตนรังสรรค์รำลึกโดยมีผู้ร่วมแสดง 161 คน การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 ณ พระราชวังรัตนรังสรรค์จำลอง
กิจกรรมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เพื่อร่วมดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT)” ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2566 รูปแบบออนไลน์ โครงการวิจัยดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย กรรมการสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย การเข้าร่วมกิจกรรมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายก และรักษาการนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย
ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่
ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่หาดส้มแป้น ตั้งอยู่ใน ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง เป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาการร่อนแร่เอาไว้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ตัวอย่างแร่และภูมิปัญญาเกี่ยวกับการร่อนแร่ไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้เรายังสามารถใช้อุปกรณ์ไปร่อนแร่และนำกลับเป็นของที่ระลึกได้อีกด้วย บริเวณที่ร่อนแร่มีที่จอดรถหรือจะใช้บริการรถสองแถวที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี้ก็มีบริการ และมีร้านอาหารอยู่ใกล้
บ้านร้อยปีเทียนสือ
บ้านร้อยปีเทียนสือ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นจ้าวบ้านคือ “ท่านเทียนสือ” ซึ่งเป็นหลานเขยของ คอซู้เจียง เจ้าเมืองระนอง โดยนายเทียนสือได้แต่งงานกับ “ฉ่ายหล่วน” ซึ่งเป็นหลานสาวของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซินบี้ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรัง จึงได้สร้างบ้านหลังนี้ ในสมัยประมาณปี พ.ศ.2433 ตั้งอยู่ไม่ไกลจากค่าย ณ ระนอง คำว่า “เทียน” แปลว่า สวรรค์ ส่วนคำว่า “สือ” แปลว่า ของขวัญ รวมกันเป็นความหมายที่ดีมาก คือ บ้านของขวัญจากสวรรค์ ตัวบ้านเทียนสือ เป็นเรือน 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างเป็นตึก มีตัวบ้านด้านหน้า ด้านหลังมีลักษณะเหมือนบ้านแฝด มีสวนกลางบ้าน หน้าต่างทุกช่องเป็นไม้แผ่นหนา ภายในบ้านเต็มไปด้วยภาพถ่ายเก่าแก่ของเจ้าของบ้านหลายชั่วอายุคน มีข้าวของเครื่องใช้โบราณ ที่ผสมผสานศิลปะทั้งไทย จีน และยุโรป เช่น โคมไฟ ภาพวาด โต๊ะ เก้าอี้ โบราณที่หาชมได้ยาก การค้าของเทียนสือเจริญรุ่งเรือง ทำให้มีฐานะดีร่ำรวยมาก มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยก่อน “เทียนสือจะชวนลูกหลานมานั่งนับเหรียญในสวนกลางบ้านและช่วยบรรจุในถุงผ้าใบที่ใช้ใส่แร่ดีบุกเก็บไว้ในบ้านมากมาย” ดังนั้น บ้านเทียนสือในอดีตจึงเปรียบเสมือนห้องคลังกลางใจเมืองระนอง ปัจจุบันบ้านเทียนสือ เป็นบ้านเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี เปิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมองค์ความรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดระนอง
ทีมโครงการวิจัย
ทีมงานโครงการวิจัย “การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (Artificial Intelligent Platform Development for Metaverse Historical Tourism : AI-MHT)” ได้มีโอกาสร่วมกันนำเสนอและเตรียมพร้อมสำหรับการทำงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 22 กรกฏาคม ที่ผ่านมา
บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน
เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าของจังหวัดระนองติดเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว โดยในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองระนอง และทรงพระราชทานชื่อถนนที่ใช้เดินทางไปยังบ่อน้ำร้อนว่า “ถนนชลระอุ”ต่อมาในปี พ.ศ.2510 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ได้เสด็จเยือนเมืองระนองและทรงพระราชทานนามที่แห่งนี้ว่า “สวนรุกขชาติรักษะวาริน” อันเนื่องมาจากมีการนำน้ำแร่ไปใช้ในกาบำบัดรักษาร่างกาย
ทัศนียภาพเขาฝาชี
เขาฝาชี ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เป็นจุดชมวิวสูงสุดของภูเขาเล็กๆ ที่ดูแล้วคล้ายกับฝาชี เลยเป็นที่มาของชื่อ เขาฝาชี นั่นเอง โดยจะมีความสูงอยู่ที่ 259 เมตร อยู่ติดกับจุดที่คลองละอุ่นไหลลงแม่น้ำกระบุรี และอ่าวที่กั้นระหว่างจังหวัดระนองกับเมียนมา
วัดเทพเจริญ (วัดถ้ำรับร่อ)
วัดเทพเจริญ ตั้งอยู่ในเขตบ้านรับร่อ ถนนราษฎร์เจริญ ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยภายในวัดจะมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดเทพเจริญ ศาลาที่ประทับหมอพรและถ้ำตามแผนที่ 6 ถ้ำ (บางข้อมูลบอกว่ามี 8 ถ้ำ) โดยภายในถ้ำมีพระพุทธรูป ภาพปั้นนูน ภาพวาดและหินงอกหินย้อยเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปีจะมีประเพณีประเพณีขึ้นถ้ำรับร่อ ปิดทองพ่อปู่หลักเมืองประจำปี โดยกำหนดจัดให้มีขึ้นในวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเปลี่ยนผ้าครองพ่อปู่หลักเมืองซึ่งจะมีพิธีแห่ผ้าครองพ่อปู่หลักเมือง และวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันขึ้นถ้ำปิดทองพ่อปู่หลักเมือง วัดเทพเจริญเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันโดยไม่มีการเก็บค่าบริการ แต่การเดินเข้าไปเที่ยวในถ้ำควรจะมีการติดต่อเจ้าหน้าที่ของวัดเพื่อขอคำแนะนำหรือพาเยี่ยมชมเนื่องจากบางพื้นที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญนำเข้าไปเยี่ยมชมเพื่อความปลอดภัย
วัดพระบรมธาตุสวี
วัดมีพระธาตุซึ่งมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี เกิดเหตุการณ์มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐพากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ขนานนามว่า พระธาตุกาวีปีก (วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ภายหลังเรียกเพี้ยนสั้นลงว่า พระธาตุสวี ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา วัดได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 10 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สูง 14.25 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 8.50 เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง และมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุมทั้งสี่ บริเวณใกล้ ๆ พระบรมธาตุสวีมีศาลพระเสื้อเมือง มีตำนานเล่าว่าก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชจะเสด็จยกทัพกลับ ทรงห่วงใยพระบรมธาตุว่าจะไม่มีผู้ดูแลรักษา จึงสั่งเรียกบรรดาทหารในกองทัพซึ่งกำลังนอนหลับสนิท ในขณะนั้นมีทหารคนหนึ่งชื่อ เมือง ขานรับพระองค์จึงมีรับสั่งถามว่า ต้องการจะอยู่ดูแลรักษาพระบรมธาตุแห่งนี้ไหม นายเมืองขานรับอาสา พระองค์จึงสั่งให้นายทหารตัดศีรษะนายเมืองเซ่นสรวงบูชาไว้ในศาลเพียงตา ศาลนี้เรียกว่า “ศาลพระเสื้อเมือง” ให้เป็นผู้เฝ้ารักษาพระบรมธาตุ บริเวณด้านข้างพระบรมธาตุสวีมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บวัตถุโบราณและให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์อยู่ เปิดบริการให้เยี่ยมชมโดยไม่เก็บค่าบริการ
กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น "BaanHatsompaen Ceramic"
ชุมชนหาดส้มแป้น เป็นหมู่บ้านซึ่งอยู่บนเนินเขา มีพื้นที่โดยประมาณ 20 ตร.กม. เดิมเป็นแหล่งแร่สำคัญของจังหวัดระนอง ได้มีชาวจีนเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ แล้วกลับออกไปบอกเจ้าเมืองระนองว่า ที่ห้วยซัมเปียน มีแร่อุดมสมบูรณ์ คำว่า “ห้วยซัมเปียน” ในภาษาจีนแปลว่า ลึกเข้าไปในหุบเขา ชาวบ้านจึงเรียกกันต่อๆ มาว่า “ห้วยซัมเปียน” และคำนี้ได้เพี้ยนมาเป็น “หาดส้มแป้น” ปัจจุบันเป็นแหล่งแร่ที่ผลิตแร่ดีบุก และแร่ดินขาวที่สำคัญของประเทศ การทำเหมืองในแหล่งแร่หาดส้มแป้น มีทั้งในส่วนที่ทำเฉพาะเหมืองดีบุก หรือทำทั้งเหมืองดีบุกและเหมืองดินขาว ปัจจุบันยังมีอุตสาหกรรมในระดับชุมชน เช่น การร่อนแร่ของชาวบ้านและนำแร่ไปขายยังบ้านที่รับชื้อ นอกจากความมีชื่อเสียงในเรื่องของการทำเหมืองแร่มากว่า 100 ปีแล้ว ชุมชนหาดส้มแป้นยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ น้ำตก ลำห้วย ธารน้ำแร่ บ่อน้ำร้อน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนเนินเขา มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจมากมาย อาทิ จุดชมวิว 360 องศา สามารถชมทิวทัศน์ ชมทะเลหมอกหาดส้มแป้นได้ถึง 360 องศา กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้นเปิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวอีกด้วย นักท่องเที่ยวที่มา สามารถลองทำผลิตภัณฑ์เซรามิคของตัวเองได้ แต่ต้องติดต่อกลุ่มล่วงหน้าก่อน